A BRIEF HISTORY OF VINYLS

READ Main Image (15).png

Thomas Edison

Thomas Edison

Back in Time

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1857 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสนามว่า Edouard-Leon Scott เริ่มคิดค้นอุปกรณ์เฉพาะทางที่ใช้กลไกการสั่นสะเทือนของปากกาลงบนแผ่นกระดาษขนาดเล็ก เพื่อให้กำเนิดคลื่นเสียงแต่ละประเภท จุดประสงค์หลักของสก็อตคือต้องการให้ผู้คนเข้าใจลักษณะของเสียงและแยกแยะได้ดีขึ้น จนกระทั่ง Thomas Edison เริ่มสนอกสนใจเจ้าเครื่องไม้เครื่องมือชนิดนี้

30 ปีถัดมา เอดิสันจึงนำแนวคิดของสก็อตมาปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องเล่นที่สามารถเล่นเสียงที่บันทึกซ้ำๆได้ โดยเขาเลือกใช้หัวสไตลัสที่ออกแบบมาเพื่อตัดร่องของเสียงบนกระบอกสูบและแผ่นที่ทำจากดีบุก ในขณะที่ Alexander Graham Bell ทำการวิจัยพัฒนาต่อจากเอดิสัน ซึ่งช่วงทศวรรษที่ 1880s เขาก็ได้เปิดตัวเจ้า “Graphophone” เช่นกัน โดยใช้กระบอกกระดาษแข็งเคลือบแว็กซ์หรือขี้ผึ้งและสไตลัสที่เคลื่อนการตัดร่องจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งรอบ ๆ แผ่นเสียงแทน เพราะการบันทึกแผ่นเสียงของเอดิสันยากต่อการใช้งานจริง เนื่องจากแผ่นดีบุกมักฉีกขาดง่าย และเหมาะสำหรับการเล่นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น

GraphophonE

GraphophonE


EMILE BERLINER

EMILE BERLINER

E. BERLINER - GRAMOPHONE

E. BERLINER - GRAMOPHONE

แต่ผู้ให้กำเนิดต้นแบบเครื่องเล่นแผ่นเสียงอย่างแท้จริงคือ Emile Berliner นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ชายผู้บัญญัติศัพท์และจดสิทธิบัตรเครื่องเล่นแผ่นเสียงไวนิลเครื่องแรกในชื่อ “Gramophone” ในปี 1887 เขาปรับเปลี่ยนแผ่นเสียงจากรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกลมแบนเรียบ ซึ่งกลไกของร่องเกลียวนั้น เคลื่อนตัววิ่งจากด้านนอกเข้าสู่ด้านในจุดศูนย์กลางด้วยระบบ manual 70 รอบต่อนาที และเบอร์ลินเนอร์ยังเป็นผู้ก่อตั้งค่ายเพลง “E. Berliner's Gramophone” ของเขาทั้งในสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, เยอรมัน, แคนาดา ตั้งแต่ปี 1894 - 1899 และร่วมก่อตั้ง “Victor Talking Machine Company” ในปี 1900-1901 กับนักธุรกิจชาวอเมริกัน Eldridge R. Johnson ก่อนที่ภายหลังพวกเขาจะเซ็นสัญญากับ Columbia Records เพื่อแบ่งปันสิทธิในการบันทึกแผ่นเสียงต่าง ๆ รวมถึงการขายบริษัทให้ Radio Corporation of America (RCA) ดูแลต่อในปี 1929 RCA จึงกลายเป็นผู้ผลิตเครื่องบันทึกและแผ่นเสียงรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นต้นมา รวมถึง Arista Records และ Epic Records ซึ่งศิลปินค่าย RCA Records คู่ค้ากับ Columbia Records ในยุคนั้นได้แก่ Louis Armstrong, Duke Ellington, Nat King Cole, Billie Holiday, Buddy Rich, Django Reinhardt, Frank Sinatra, Elvis Presley, Johny Cash, Miles David, Nina Simone, Doris Day, Bob Dylan, Simon & Garfunkel, Earth Wind & Fire, David Bowie, Pink Floyd ฯลฯ

BERLINER DISC 1897

BERLINER DISC 1897

RCA VICTOR VINYL

RCA VICTOR VINYL


นับตั้งแต่แผ่นไวนิลแผ่นแรกของ RCA ถูกผลิตออกมาด้วยการเล่นที่ความเร็ว 33 ⅓ รอบต่อนาทีและจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี 1930 ไวนิลได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง แต่แผ่นของอาร์ซีเอสามารถบรรจุเพลงได้เพียงไม่กี่เพลงต่อหน้าเท่านั้นเลยทำให้ผู้บริโภคเกิดความลังเลใจ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงก่อนเข้าสู่ช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทโคลัมเบียจึงตัดสินใจพัฒนาเทคโนโลยีของแผ่นเสียงอย่างต่อเนื่องและเปิดตัวไวนิล long play (LP) ขนาด 12 นิ้วที่ความเร็ว  33 ⅓ รอบต่อนาทีได้สำเร็จ โดยแผ่นเสียงของโคลัมเบียมีขนาดบางเบา คุณภาพเสียงนุ่มนวลดี บริษัทอาร์ซีเอวิคเตอร์ไม่รอช้า ผลิตแผ่น extended play (EP) ขนาด 7 นิ้วที่ความเร็ว 45 รอบต่อนาทีหรือแผ่นซิงเกิลที่บันทึกได้หน้าละไม่เกิน 2 บทเพลง มักใช้กับเพลงเด่น ๆ เพื่อเผยแพร่ตามสถานีวิทยุก่อนโปรโมทและวางจำหน่ายอัลบั้มเต็ม (ซึ่งโรงงานในปัจจุบันลดต้นทุนและประหยัดเวลาด้วยการใช้วัตถุดิบที่สามารถทดแทนขี้ผึ้งได้อย่าง Polyvinly chloride หรือ PVC มีคุณสมบัติทนทานและสามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกด้วย) การช่วงชิงอำนาจระหว่างสองบริษัทใหญ่หรือคู่ปรับตลอดกาลเลยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “War of the Speeds” ส่งผลให้อุตสาหกรรมแผ่นเสียงเติบโตยาวนานกว่า 30 ปี ก่อนหันเหสู่ยุคเทปคาสเซตต์ (Cassette Tape) และคอมแพคซีดี (CD) ที่มีคู่ค้าอย่าง Phillips ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่คับขันอย่างมาก ด้วยกลยุทธ์และขนาดที่พกพาง่ายของฟิลลิปส์ ทำให้ยอดขายแผ่นเสียงลดฮวบลงในช่วงปี 1988-1991 อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวกันหน่อย แต่แผ่นเสียงก็กลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง 

Rough Trade - Record Store Day

Rough Trade - Record Store Day

เมื่ออุตสาหกรรมดนตรีเริ่มมีแนวโน้มเติบโตสูง ร้านแผ่นเสียงจึงถือกำเนิดขึ้น Spillers Records คือหนึ่งในร้านที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เดิมทีคือร้านที่เชี่ยวชาญด้านการขายเครื่องบันทึกเสียงและแผ่นครั่ง ปัจจุบันปักหลักอยู่ในแหล่งช็อปปิ้ง Morgan Arcade ที่เมืองเวลส์ ณ​ ประเทศอังกฤษ เช่นเดียวกับร้าน Rough Trade หรือ Rough Trade Records ค่ายเพลงอิสระที่สร้างชื่อให้ศิลปินซีนดนตรีอันเดอร์กราวนด์อย่าง The Smiths ไปจนถึง The Libertines ฯลฯ แม้ว่ายุคของ digital age หรือ music streaming platforms จะเข้ามามีบทบาทและเอื้ออำนวยต่อการฟังของเราในทุกอณูมากแค่ไหน สิ่งของชนิดจับต้องได้เหล่านี้ก็ยังช่วยขับเคลื่อนวงการดนตรี, ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น และซัพพอร์ตศิลปินไปในตัว อาทิ การขาย merchandise ในรูปแบบเสื้อยืด, กระเป๋าผ้า, โปสเตอร์ทัวร์, ขายบัตรคอนเสิร์ต รวมถึงเป็นจุดศูนย์กลางให้ศิลปินและแฟนเพลงได้พบปะกัน ยกตัวอย่างร้าน Amoeba Music เคยจัดการในส่วนของ musical performances หรือ live shows ทำให้ลูกค้าที่มาจับจ่ายใช้สอยในร้านได้เพลิดเพลินไปกับโชว์ของศิลปินมากหน้าหลายตา ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

Nirvana - Live At Rough Trade

Nirvana - Live At Rough Trade


ถ้าให้พวกเราพูดถึงการแพร่ระบายของโรค covid-19 ในปัจจุบันแล้ว นับว่าส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมดนตรีครั้งใหญ่เลยทีเดียว รวมถึงการยกเลิกงานคอนเสิร์ตและมิวสิคเฟสติวัล ทำให้ผู้คนในแวดวงต้องหยุดพักหรือปิดตัวสถานที่ลง อย่างไรก็ตาม รายงานของเว็บไซต์ Discogs.com เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นเสียง กล่าวว่าการระบาดในครั้งนี้กลับจุดประกายอะไรบางอย่าง โดยสถิติล่าสุดของครึ่งแรกในปี 2020 นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ยอดขายแผ่นเสียงพุ่งสูงขึ้นราว 6 ล้านแผ่น! หรือคิดเป็น 33% เมื่อเทียบกับตัวเลขของปีก่อน อัลบั้มสามอันดับแรกที่ขายดีที่สุด ได้แก่ The Slow Rush - Tame Impala, Texas Sun - Khruangbin and Leon Bridges, It Is What It is - Thundercat ซึ่งเว็บไซต์นี้คอยทำหน้าที่ส่วนของการเปิดโอกาสให้ร้านขายแผ่นเสียงจากทั่วทุกมุมโลกได้ใช้พื้นที่บน market place เพื่อช่วยเหลือให้ธุรกิจของพวกเขาดำเนินต่อไปได้ในขณะที่ต้องปิดร้าน เช่นเดียวกับนักฟังเพลงที่หันมาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น เพราะไวนิลยังคงทรงคุณค่าต่อนักสะสม, ดีเจไนต์คลับ แม้กระทั่งนักฟังเพลงรุ่นเก่ารุ่นใหม่ที่ต่างหลงใหลมันอยู่เสมอมาและไม่มีท่าทีจะจากไป. . .สำหรับคนรักแผ่นเสียงคนไหนอยากทำความรู้จักกับเจ้า physical things ชนิดนี้ รอติดตามบทความหน้าจากพวกเราชาว HAVE YOU HEARD? ได้เลย


THE LATEST

Previous
Previous

HAVE YOU HEARD? — HIGHLIGHTS : 002

Next
Next

HAVE YOU HEARD? — HIGHLIGHTS: 001